※ บทสัมภาษณ์นี้ถูกเผยแพร่ในวันที่ 2 สิงหาคม 2017 โดยปัจจุบันสเตจนี้ก็จบลงไปแล้ว รวมถึงระบบทีมได้เปลี่ยนแล้ว

 

บทสัมภาษณ์ Murayama Yuiri 
“Let’s Go Kenkyuusei” สเตจเคงคิวเซรุ่น 16 ที่ยุยรี่โปรดิวซ์

ยุยรี่ผู้ที่มาโปรดิวซ์สเตจใหม่ของเคงคิวเซ (เด็กฝึกหัด) รุ่น16
สเตจ “Let’s Go Kenkyuusei” ที่สร้างโดยยุยรี่ผู้ให้ความสำคัญกับจุดเริ่มต้นของ AKB48 อย่างเธียเตอร์นั้นคือ?

 
บทสัมภาษณ์มุรายามะ ยุยริ ผู้โปรดิวซ์สเตจรุ่น16
〜สเตจที่คนที่ให้ความสำคัญกับเธียเตอร์ยิ่งกว่าอะไรอย่างยุยรี่เนี่ยแหละถึงทำได้〜
 
 

จุดเริ่มต้นกับรุ่น16

 

— ในครั้งนี้ที่ได้มาโปรดิวซ์สเตจของเด็กฝึกหัดรุ่น16 แรกเริ่มเดิมทีพบปะกันจากตรงไหน?

ได้เจอกับรุ่น 16 จริงๆ จังๆ ก็ตอนคอนเสิร์ต “โคจิมัตสึริ” ล่ะค่ะ แต่ว่าได้เริ่มคุยกับทุกคนก็เมื่อไม่นานมานี้เอง หลังจากเริ่มไปดูสเตจก็ถึงได้คุยกันเป็นเรื่องเป็นราวล่ะค่ะ

 

— จุดเริ่มต้นที่ทำให้ไปดูสเตจของเคงคิวเซรุ่น 16 คืออะไร?
ก่อนเริ่มสเตจกันทุกครั้งเมมเบอร์จะยืดเส้นยืดสายวอร์มร่างกายกัน ตามปกติแล้วจะจำเอาจากเวลาที่รุ่นพี่ทำค่ะ แต่ว่ารุ่น 16 ไม่มีโอกาสที่ได้ขึ้นสเตจร่วมกับพวกรุ่นพี่ เพราะงั้นก็เลยอยู่ในสภาวะที่ไม่สามารถดู (การวอร์มร่างกาย) แล้วจดจำเอาจากรุ่นพี่ได้เลย ด้วยเหตุนี้แหละ เลยเป็นจุดเริ่มต้นที่ถูกบอกให้เข้ามาช่วยสอนในฐานะคนชี้แนะ ซึ่งฉันเองก็คิดว่าน่าสนุกดีที่ได้จะสนิทกับพวกรุ่นน้อง แถมอยากดูสเตจด้วยก็เลยตอบรับไปค่ะ

 
 

 

สิ่งที่ยุยรี่รู้สึกได้จากเด็กเคงคิวเซรุ่น16

 
— ความประทับใจที่ได้ดูเด็กพวกนี้บนสเตจครั้งแรกเป็นยังไงบ้าง?

ความประทับใจแรกคือ “สุดยอดจัง!” ล่ะค่ะ ระดับความสนุกของแฟนๆ นี่ล้นหลามเลย

รู้สึกรอบที่ฉันไปดูจะเป็นสเตจประมาณแค่ครั้งที่ 10 เอง ถึงพวกความสามารถในการเล่น Performance เอย สกิลทางเทคนิคจะยังไม่มีก็ตาม แต่ความรู้สึกที่ทุกคนเล่นกันอย่างเต็มที่นี่ชวนเอาคิดถึงอย่างมาก ฉันคิดว่าแฟนๆ ทุกคนคงรู้สึกอยากเชียร์ขึ้นมาเพราะความใสๆ แบบนี้นั่นแหละนะ

ถึงยังจำชื่อทุกคนไม่ได้ในทันที แต่เด็กที่ประทับใจก็มีอยู่หลายคนเลย นับจากตอนนั้นก็มีที่คิดๆ ขึ้นมาว่า “อยากลองให้เด็กคนนี้เล่นเพลงนี้จัง” ด้วยล่ะค่ะ

ตอนที่ดูครั้งแรกยังไม่รู้เซตลิสต์เพลง แต่ดูแล้วรู้สึกประทับใจจากใจจริงในฐานะผู้ชมธรรมดาคนหนึ่งล่ะค่ะ

— หลังจากดูรุ่น 16 แล้ว มีอะไรที่ติดใจขึ้นมาบ้างไหม?

ตัวฉันมีประสบการณ์การเต้นและได้เรียนพวกพื้นฐานมาอยู่แล้วตั้งแต่ก่อนเข้าAKB เพราะงั้นตอนที่เข้ามา เลยแทบไม่ลำบากกับพวกพื้นฐานเลย ทำให้ไม่รู้ว่าจะคอยบอกเด็กที่พลาดกระทั่งตรงพื้นฐานได้ยังไงดีค่ะ

แต่แล้วหลายวันก่อนก็ได้เห็นครูคอยสอนพวกวิธีฝึกบริหารกล้ามเนื้อบนใบหน้าเพื่อการสื่ออารมณ์ การจัดท่าทางเอย วิธีเทรนนิ่งเอย ก็เลยรู้สึกว่าให้คำแนะนำอย่างละเอียดยิบแบบนั้นนี่ดีนะเนี่ย

ตอนแรกฉันกะว่าจะสอนเรื่องการสื่ออารมณ์ในแต่ละเพลง แต่ก็ได้เรียนรู้ว่าก่อนหน้านั้น สิ่งสำคัญคือควรเริ่มสอนจากพื้นฐานก่อนจะดีกว่าค่ะ

ซึ่งคิดว่ามีจุดที่ถ้าไม่ใช่ในฐานะเมมเบอร์ AKB48 แล้วคงจะไม่รู้สึกตัวแน่ๆ เพราะงั้นต่อจากนี้เลยคิดว่านำจุดนั้นแหละ มาเป็นประเด็นในการชี้แนะให้กับทุกคนอย่างชัดเจนได้ก็คงดีล่ะค่ะ

 

การได้โปรดิวซ์

 
— ตอนที่ถูกบอกให้โปรดิวซ์สเตจนี่รู้สึกอย่างไร?

สเตจที่เมมเบอร์โปรดิวซ์เนี่ยก็มีแต่ทากามินะซังกับโคจิมะซังไม่ใช่หรือคะ

ก็เลยคิดมาตลอดว่า มีไว้ให้เมมเบอร์ที่มีชื่อเสียงสร้างสเตจขึ้นมาเพื่อเด็กๆ ที่ยังไม่เป็นที่รู้จักในหมู่คนทั่วไปได้เป็นที่รู้จักมากขึ้นซะอีกค่ะ

เพราะงั้นตอนที่ได้ฟังเรื่องนี้ฉันถึงกับ “เอ๊ะ?” ขึ้นมาเลยค่ะ

ถึงจะดีใจเอามากๆ ที่เป็นเรื่องที่ได้ข้องเกี่ยวกับรุ่น16 แต่คนที่ไม่มีชื่อในหมู่คนทั่วไปอย่างฉันเนี่ยให้มาโปรดิวซ์สเตจจะดีเหรอ?

แต่ว่าหลังจากปรึกษากับหลายๆ คนแล้ว แถมโยโกยามะซังเองก็บอกว่า “มันมีความหมายนะที่จะให้คนที่ให้ความสำคัญกับเธียเตอร์เป็นคนสร้างน่ะ” แถมยังถูกบอกอีกว่า “เด็กรุ่น 16 ถ้าได้คนที่มีเป้าหมายเป็นเทพธิดาแห่งเธียเตอร์อย่างยุยรี่มาช่วยโปรดิวซ์ต้องเป็นจุดสนใจแน่ เพราะงั้นลองทำดูน่า” ก็เลยคิดว่างั้นแบบนี้ก็คงดีแล้วล่ะมั้ง…

โดยตอนแรกตั้งใจจะปิดบังชื่อด้วยนะคะ

อยากจะเกี่ยวข้องแค่เบื้องหลัง พอช่วงที่สเตจนี้จบก็ค่อยบอกว่าจริงๆ แล้วผู้อยู่เบื้องหลังคือยุยรี่… อะไรแบบนี้ แต่กลางคันก็คิดว่าอยากเผยชื่อขึ้นมา (หัวเราะแห้งๆ) แต่ว่าตอนประกาศในงานจับมือทั่วประเทศที่ชิซึโอกะ แฟนแต่ละคนก็ส่งเสียง “โอ้!” กันขึ้นมาเกินที่คาด เพราะงั้นก็เลยคิดว่านี่แหละคือโอกาสเลย การเมมเบอร์ปัจจุบันจะได้โปรดิวซ์ก็ไม่ค่อยจะมีด้วย แถมคิดว่าถ้าได้สอนรุ่น 16 ที่เพิ่งขึ้นมายืนบนเวทีได้ไม่นานมากก็คงดี เลยตัดสินใจทำค่ะ

— หลังจากเป็นโปรดิวเซอร์แล้วมีอะไรที่ทุกข์บ้างไหม?

เรียกได้ว่ามีแต่เรื่องทุกข์เลยล่ะค่ะ (ฮา)

พอไม่ได้เป็นกัปตันเลยไม่รู้ว่าจะเข้าหารุ่น 16 แค่ไหนดี แถมใช่ว่าจะคอยมองเด็กคนนั้นได้ตลอดด้วย ต่อให้มีสิ่งที่พูดในฐานะรุ่นพี่ได้ แต่ในฐานะโปรดิวเซอร์เนี่ย ไม่รู้ว่าจะข้องเกี่ยวกันได้แค่ไหนดี ควรจะเข้าไปรับรู้เรื่องของเมมเบอร์แค่ไหนดี ควรเข้าไปยังใจกลางแค่ไหนดี แต่ว่านะ การที่มาดูสเตจแล้วแสดงความรู้สึกออกมาเนี่ย เป็นสิ่งที่ทำได้ในฐานะรุ่นพี่นี่นา

เพราะงั้นช่วงนี้ถ้าไปช่วงซ้อมได้ก็จะพยายามไป คิดว่าในฐานะโปรดิวเซอร์แล้ว หากช่วยถ่ายทอดคำพูดอะไรหลายๆ อย่างออกมาได้ก็คงจะดีล่ะค่ะ

 

เซตลิสต์ที่ผ่านการลองผิดลองถูก

 
— อยากจะถามเกี่ยวกับเซตลิสต์หน่อย ชื่อสเตจคือ “Let’s Go Kenkyuusei” ตัว “Let’s Go Kenkyuusei” เนี่ย เป็นเพลงที่ร้องสมัยรุ่น13ยังเป็นเคงคิวเซสินะ

ใช่แล้วล่ะค่ะ

ในเซตลิสต์ที่ฉันคิดก็มีอยู่ตั้งแต่ช่วงแรก ให้พูดง่ายๆ ธีมมันก็คือ “โรงเรียน” ค่ะ

ในช่วงกลางๆ สเตจ จะถูกพาไปสู่ “เพลงที่เจ็บปวด” ที่มีแมสเซจในเพลงอย่างแรงกล้า โดยให้ความรู้สึกว่าถึงจะยิ้มแย้มอยู่เสมอ แต่จริงๆ แล้วก็มีความรู้สึกด้านนี้อยู่ด้วยนะ แล้วก็คิดไปถึงว่าช่วงท้ายจะเป็นเพลงแนวชมรมโรงเรียนที่เรียกเหงื่อ …. คิดเซตลิสต์เนี่ยมันยากนะคะ! (ฮา)

 
— คิดตั้งแต่หนึ่งเลยค่ะ

ได้รับเอกสารเกี่ยวกับเพลงทุกเพลง เริ่มฟังกระทั่งเพลงที่ไม่รู้จักที่แค่รู้สึกว่าชื่อเพลงมันดีด้วยล่ะค่ะ ถึงจะมีเยอะเกินไปจนไม่รู้จะเอายังไงดีก็ตาม แต่ก็ลองสร้างตัวเลือกมาจับกลุ่มกันดู สร้างแพทเทิร์นของโอเพนนิ่งออกมาประมาณ 4 รูปแบบได้ ได้หารือกับสตาฟหลายคนจนเปลี่ยนไปอย่างมากเลยล่ะค่ะ

ถ้าให้แค่ฉันเป็นคนคิด จะกลายเป็นเพลงที่อยากเล่นในฐานะเมมเบอร์น่ะค่ะ โดยคิดว่าถ้าไม่รู้จักตัวตนของรุ่น 16 ทุกคนก็สร้างมันขึ้นมาไม่ได้ ก็เลยไปดูสเตจค่ะ ไปๆ มาๆ ก็คิดว่าเพลงที่สามารถสื่อความเป็นรุ่น 16 ออกมาได้นี่คืออะไรกันนะ? ตัวเพลงยูนิตเลือกออกมาได้อย่างราบรื่นกว่าที่คาด แต่ว่าตัวเพลงรวมนั้น ใช้เวลานานมากกว่าจะเลือกได้ค่ะ

 

— อธิบายเซตลิสต์ : Opening <Kaisoku to Doutairyoku (เพลงซิงเกิ้ล), Mina-san to Go-Isshoni (B4th  Stage : Idol no Yoake), Akogare no Popstar (A6th Stage : Mokutekisha), Sono Ase wa Uso wo Tsukanai (K5th Stage : Saka Agari) >

เลือกใส่เพลงที่ไม่ค่อยมีภาพลักษณ์ของเมมเบอร์ที่ร้องเพลงกับตัวทีมชัดเท่าไหร่ลงไปค่ะ 

แต่ถึงงั้นกลับใส่เพลงของทีม A / K / B แต่ละทีมเข้าไปโดยที่ไม่รู้ตัว กระทั่งตัวเองก็ตกใจเลยล่ะค่ะ 

ใส่เพลงที่ชวนสนุกสนานแต่ไม่ค่อยได้เล่นลงไป และในเซตลิสต์นี้รวมๆ ก็จะเพลงมีพาร์ทที่สับเปลี่ยนเมมเบอร์ไปแล้วแต่ละรอบอยู่หลายเพลง ซึ่งนั่นก็ทำให้สามารถถึงด้านดีของเด็กหลายๆ คนออกมาได้ อีกทั้งได้นำเมมเบอร์ที่มีอิมเมจเหมาะตามแต่ละเพลง (สดใสร่าเริง, สายไอดอล, สายสร้างความครึกครื้น ฯลฯ) มาไว้อยู่ข้างหน้าค่ะ

ตัว Opening ทั้ง 4 เพลงนั้น เร่งเครื่องอย่างเต็มกำลัง แล้วก็คิดออกมาโดยให้ผู้ชมสามารถ MIX ออกมาได้เต็มที่ล่ะค่ะ (ฮา)

ซึ่งเลือกเพลงที่ให้แฟนๆ ทุกคนสามารถส่งเสียงออกมาได้อย่างเต็มที่ล่ะค่ะ

— อธิบายเซตลิสต์ : ยูนิต <Kanpeki Gu~none (ซิงเกิ้ลของ Watarirouka Hashiritai 7), Cross (KII 3rd Stage : Ramune no Nomikata), Ai no Iro (K5th Stage : Saka Agari), Migiashi Evidence (ซิงเกิ้ลของ Fujita Nana), Wagamama na Nagareboshi (K5th Stage : Saka Agari)>

เพลงยูนิตที่ตัวฉันอยากเล่นจะเป็นเพลงที่มีคนจำนวนคนเล่นหลายคนอยู่หลายเพลงเลยค่ะ

ผลลัพธ์ที่ได้คือ พาร์ทยูนิตกลายเป็น 5 เพลง แต่ก็รู้สึกไม่ชอบตรงที่ถ้าวางเพลงที่มีจำนวนคนเล่นหลายคนมาแล้วมันทำให้มีใครสักคนได้เล่น 2 รอบ แต่ใครสักคนกลับเล่นได้แค่ครั้งเดียว ก็เลยคิดทบทวนใหม่อีกทีค่ะ

แต่ส่วนตัวชอบเพลง “Ai no Iro” และคิดว่าเป็นเพลงที่ดีๆ มากๆ ด้วยล่ะค่ะ เพราะงั้นคิดว่ายังไงก็อยากให้เล่นเพลงนี้เนี่ยแหละ เลยตัดสินใจเลือก “Ai no Iro” ไป

 

“Kanpeki Gu~none” อิมเมจโดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นซึนจัง (ยามาเนะ สึซึฮะ) และได้เลือกเมมเบอร์ที่ดูยิ้มแย้มและให้ความรู้สึกว่าทำให้ชวนฝันในฐานะไอดอลค่ะ

 

“Cross” นี่ ตอนแรกคิดว่าจะเลือก “MARIA” แต่คิดว่ามีโอกาสได้เห็นตามคอนเสิร์ตเยอะแล้ว ก็เลยเลือกเพลงที่โทนๆ เดียวกัน จนได้เป็นเพลงนี้โดยนำคานะบุน (ยาสึดะ คานะ) ที่เต้น “Kuroi Tenshi” บนสเตจที่เล่นอยู่ ณ ตอนนี้ออกมาอย่างมีชีวิตชีวามาเป็นเซนเตอร์ เลือกนามิน (อาซาอิ นานามิ) ที่เล่น “Anata to Christmas” ที่ดูสุขุม กับ นากิ๊ว (โชจิ นากิสะ) ที่เล่น “Skirt Hirari” เพลงแนวไอดอลมา โดยคิดว่าจะทำให้สัมผัสถึงเสน่ห์ที่แตกต่างออกไปได้ล่ะค่ะ

 

“Ai no Iro” เป็นอะไรที่การเต้นสามารถเฉลี่ยออกมาได้อย่างลงตัว โดยรวบรวมเมมเบอร์ที่ไม่เชิงว่าเป็นเมมเบอร์สายVisual แต่คือสามารถแสดงอารมณ์ออกมาได้อย่างลงตัว โดยในด้านอายุนั้นก็โตพอเหมาะกับคอสตูมเดรสสีขาวได้พอดี

ได้เลือกเมมเบอร์ที่มีแนวโน้มว่าจะสามารถแสดง Genre ของเพลงที่ยังไม่มีในรุ่น 16 ในตอนนี้ออกมาได้ล่ะค่ะ

 

ต่อด้วย “Migiashi Evidence” เพลงนี้ก็เล่นเอาลังเลเหมือนกัน

ตอนแรกก็ว่าจะให้คานะบุนกับซุกกี้ (ยามาอุจิ มิซึกิ) เล่นเพลงสาย Dance แต่ด้วยสไตล์การเต้นของทั้ง 2 แตกต่างกัน ไม่งั้นจะทำให้กลายเป็นไม่เห็นด้านดีของทั้งคู่ไป ประกอบกับที่ซุกกี้เริ่มเป็นที่ชื่นชมในหลายๆ ที่ แต่รู้สึกว่ากลับยังไม่เป็นที่ถูกค้นพบเท่าไหร่ เลยรู้สึกคาดหวังกับการเต้นและตั้งตารอว่าถ้าให้เล่นคนเดียวโดยที่ไม่มี Dancer เลย จะสามารถแสดงเสน่ห์ด้วยตัวคนเดียวออกมาได้แค่ไหนกัน

คิดว่าถ้าสามารถช่วยแสดง Performance ออกมาโดยที่ทำให้ผู้ชมรู้สึกออกมาได้ว่า “มีเด็กแบบนี้อยู่ด้วยเหรอเนี่ย!” ออกมาได้อย่างล้นหลามก็คงดีล่ะค่ะ

 

สุดท้าย “Wagamama na Nagareboshi” เพลงนี้เป็นเพลงฟีล “พี่สาวกับน้องสาว” เหมือนกับ “Torani no Banana” มีรู้สึกตั้งตารอที่จะได้ชมการจับคู่ระหว่างคาโอริ (อินากาคิ คาโอริ) ที่ดูไม่เหมือนพี่โตสุด กับ คุรุรุน (สึซึกิ คุรุมิ) ที่ดูไม่เหมือนน้องเล็กสุดว่าจะออกมายังไงล่ะค่ะ

 

— อธิบายเซตลิสต์ : ช่วงกลางจนถึงครึ่งหลัง <Kodoku na Runner (SDN48 1st Stage : Yuuwaku no Garter), Hitonatsu no Hankouki (เพลงซิงเกิ้ล), Zutto Zutto (A6th Stage : Mokugekisha), High school days (เพลงอัลบั้ม)>

“Kodoku na Runner” ก่อนอื่นเลยตรงโซโล่แดนซ์ล่ะค่ะ อยากให้ได้เห็นเสน่ห์ในด้านใหม่ๆ ออกมาค่ะ แล้วก็ทั้ง 8 คนที่ออกมาในช่วงต้นเพลงนั้น เป็นการรวบรวมเมมเบอร์ที่เต้นได้หนักหน่วงมาค่ะ 

เพลงนี้ฉันเองก็ได้เล่นตอนคอนเสิร์ตรุ่น 13 มาเหมือนกัน เป็นเพลงที่โหดหินอยู่นะคะเนี่ย

ก่อนที่ฉันจะเข้าวง AKB48 ตอนยังเป็นแฟนอยู่ ได้ดู “Kodoku na Runner” แล้วก็ชอบขึ้นมามากๆ จนขนาดทำท่าเต้นตามเลยล่ะ

เพราะงั้นคิดว่าทุกคนที่ออกเหงื่อเล่นเพลงนี้ต้องออกมาอย่างเป็นประกาย และคิดว่าตัวผู้ชมเองก็คงเห็นการที่เหงื่อท่วมขนาดนั้นแล้วรู้สึกว่า ทุกคนดูเต็มที่จัง! ขึ้นมาล่ะค่ะ

 

“Hitonatsu no Hankouki” เลือกเมมเบอร์ที่ดูท่าทางจะจัดการกับวัยต่อต้าน (反抗期, Hankouki) ได้ล่ะค่ะ (ฮา)

เลือกคุรุรุนที่ดูท่าทางจะมีแฟนๆ ที่ดูแอคทีฟจัดๆ ท่าทางจะเยอะมาเป็นตัวเด่น และได้เลือกเมมเบอร์ที่ได้แสดงความเป็นไอดอลที่ชวนหลงรักผ่านยูนิต แต่กลับมีมุมที่ว่า จริงๆ แล้วไม่ชอบการเป็นไอดอลหรอก ออกมาอยู่ข้างหน้าดูค่ะ

 

“Zutto Zutto” เป็นอิมเมจในช่วงที่วัยต่อต้านได้สิ้นสุดลง โดยพอช่วงวัยต่อต้านจบลงก็อยากจะโชว์บรรยากาศที่ดูโตเป็นผู้ใหญ่ขึ้นมาหน่อยๆ ประกอบกับคิดว่าช่วงท่อนฮุคสุดท้ายที่เรียงหน้ากระดานเป็นแถวเดียวมันดีน่ะค่ะ

หลังจบช่วงวัยต่อต้านก็เปลี่ยนบรรยากาศด้วยเพลงน่ารักแล้วทุกคนจะสับสวิตช์ได้แค่ไหน กับการที่เต้นบนทางเดินในขณะที่เต็มไปด้วยเหงื่อก็ด้วย คิดว่าเป็นอะไรที่เปล่งประกายแน่เลยล่ะค่ะ

 

“High school days” ให้ความรู้สึกว่า “ตัวเราในตอนนี้”

จริงๆ แล้วอันนี้ก็อยากใส่ลงในช่วง Opening แต่สุดท้ายก็กลายมาเป็นเพลงสุดท้ายของช่วงหลักค่ะ

คอสตูมเองก็ยังคิดอยู่ แต่ว่าอยากให้ทุกคนสวมคอสตูมที่ดึงเอกลักษณ์หลากหลายของแต่ละคนออกมา เพียงแต่ก็ยังคงความรู้สึกว่าในตอนนี้ทุกคนพยายามด้วยกันนะ แล้วก็อยากดึงความเป็นโรงเรียนออกมาด้วย เพราะงั้นถ้าทุกคนสวมชุดนักเรียน เต้นด้วยรอยยิ้มแย้ม โดยดึงความรู้สึกว่าเหมือนกับเป็นเพื่อนร่วมชั้นปีเดียวกันที่เหมือนจะเอื้อมถึงแต่กลับเอื้อมไม่ถึง เหมือนกับไอดอลอะไรอย่างนี้

คิดว่าถ้าออกมาเป็น 16 คนที่เหมือนจะอยู่ใกล้ตัวแต่ก็เหมือนไม่อยู่ใกล้ตัวล่ะค่ะ

— อธิบายเซตลิสต์ : Encore <Let’s Go Kenkyuusei! (B3rd Stage : Pajama Drive), Team Zaka (เพลงอัลบั้ม), Iede no Yoru (เพลงอัลบั้ม)>

“Let’s Go Kenkyuusei” มีด้านที่ถ้าพูดถึง “Kenkyuusei” ก็ต้องเพลงนี้ล่ะนะคะ

ตรงพาร์ทชื่อนี่ยากเลย ชื่อเล่น Official กับ ชื่อที่ถูกคอลล์จริงๆ มีต่างกันบ้าง เลยเริ่มจากจุดที่ว่าอยากให้เป็นชื่อเล่นตัวเองที่อยากให้เรียกและจำกันได้ค่ะ สมัยพวกฉันก็เคยเล่นมี โดยช่วงที่เรียกชื่อเนี่ย ท่าเต้นฟรีสไตล์เลยล่ะค่ะ

โดยนั่นจะเป็นส่วนที่เปลี่ยนไปไม่ซ้ำแต่ละหน เพราะงั้นเลยน่าสนุกว่าจะออกมาเป็นท่าโพสแบบไหนกันนะ มีส่วนที่เมมเบอร์กันเองจับกลุ่มกันด้วย มีช่วงที่โต้ตอบกับแฟนๆ ด้วย แล้วก็อยากให้ช่วยจำหน้าทุกคนอีกครั้งก็เลยใส่เพลงนี้ไปค่ะ

 

“Team Zaka” อยากให้เล่น แล้วตอนดูตอน Lesson ทุกคนก็ท่าทางสนุกสนานดีล่ะค่ะ

ในด้านท่าเต้นถึงจะเต้นง่าย ไม่ยากก็ตาม แต่เป็นเพลงที่ออกแรงเต้นเยอะล่ะค่ะ

เพราะงั้นคิดว่าเพลงที่ทุกคนสามารถใส่ออกมาได้เต็มที่ก็ต้องเพลง “Team Zaka” ล่ะค่ะ ทั้งตรงที่วิ่งเอย ตรงที่โค้งเอย ตรงที่วอร์มร่างกาย มีท่าเต้นอะไรแบบนี้เยอะ ทำให้สื่อความสนิทของทุกคนออกมาได้ด้วย แล้วก็การที่ล้อมวงแล้ววิ่งกระจายไปตามทางเดินที่มันดูเป็น “วัยรุ่น” เนี่ย อาจจะทำได้แค่นี้แหละค่ะ คิดว่าถ้าแฟนๆ ได้ดูและคิดว่ารู้สึกถึงพละกำลังนั้นได้ก็คงดี อีกทั้งคิดว่าเหมาะกับรุ่น16อย่างแน่นอนค่ะ

 

“Iede no Yoru” ตอนแรกไม่รู้จักเลย แต่ตอนที่ฟังอัลบั้ม “1830m” ก็พบว่า เพลงดีเพลงนี้มันอะไรกัน! เนื้อเพลงมันดีมากๆ เลย ถึงแม้ด้านท่าเต้นจะไม่เหมาะกับท่าเต้นที่จะให้เคงคิวเซเล่นก็ตาม แต่ตรงท่อนฮุคนั้นกลับเรียบง่าย เป็นการเต้นที่ออกแรงเยอะ ซึ่งในตอนท้ายสุดถ้าเต้นให้พร้อมกันได้ก็คงดีล่ะค่ะ

จะว่าเพลงนี้เป็นเพลงจากพวกฉันถึงรุ่น 16 ก็ไม่เชิง มันเป็นความรู้สึกประมาณว่าอยากให้ตั้งเป้าไปให้สูงกว่านี้ ไม่ใช่อยู่แต่กลับสภาพแวดล้อมที่คอยเกื้อหนุนอย่างในตอนนี้ 

ใส่ข้อความจากฉันใส่รวมลงไปว่า ถึงตอนนี้อาจจะอยู่ภายในบ้านหลังหนึ่ง แต่ใช่ว่าจะหยุดอยู่ที่ตรงนี้ ต่อจากนี้ก็ต้องเรียนรู้อะไรหลายอย่าง และก้าวต่อไปด้วยนะ 

แต่ไม่รู้ว่าจะเก็ตกันไหมนะคะ (ฮา)

— จบแล้วกับทั้ง 16 เพลง รู้สึกว่าเป็นการเรียบเรียงสเตจออกมาได้ตามขนบแบบดั้งเดิมเลยล่ะ

คิดว่ามีการเรียบเรียงหลายรูปแบบอยู่ แต่ถ้าพูดถึงเธียเตอร์แล้วก็ต้องการจัดแบบเรียบง่ายแบบนี้ ไม่ได้ยึดติดวิธีการเสนอเป็นพิเศษ แต่ลองทำสเตจธรรมดาๆ ที่ให้ความรู้สึกเหมือนกับยุคสมัยแรกออกมาค่ะ

วิธีการเรียบเรียงเองอาจจะทำให้น่าสนใจได้อยู่ แต่พวกนั้นสามารถทำได้ตามพวกคอนเสิร์ตได้ เพราะงั้นทางนี้เลือกที่จะทำให้พวกแสงไฟไม่ค่อยสาดหนักมาก เพื่อที่จะสามารถมองเห็นท่าเต้นของเมมเบอร์ได้อย่างชัดเจนแม้จะอยู่ข้างหลัง เพราะงั้นเลยทำเป็นเซตลิสต์ที่ไม่ค่อยหนักหน่วงมาก ในความหมายที่ดีนะคะ

 

— ฝากข้อความทิ้งท้ายหน่อย

ช่วงไม่นานมานี้ ตอนสเตจวันเกิดฉัน โคมิ (โคมิยามะ ฮารุกะ) ได้บอกว่า “อยากอยู่ทีมที่ยุยรี่ซังเป็นกัปตัน” แล้วก็ตอนที่มีโอกาสได้กลับบ้านพร้อมกับเมมเบอร์รุ่น 16 ก็มีได้คุยไปว่า “ยังไม่เคยมีโอกาสที่ได้ยืนบนเวทีร่วมกันเลยเนอะ อยากยืน (บนเวที) ด้วยกันจัง” ก็ตอบกลับมาว่า “ไว้ตอนได้เลื่อนขึ้นทีม ยุยรี่ซังช่วยเป็นกัปตันให้ด้วยนะคะ!”

ดีใจจริงๆ ที่มีคนที่มาพูดอะไรแบบนี้

ไม่คิดว่าจะเป็นคนที่สามารถเป็นกัปตันได้ก็ตาม แต่ดีใจมากๆ กับการที่รอบตัวมาพูดแบบนี้ ก็ทำให้รู้ว่าสิ่งที่ฉันพูดนั้นได้ถ่ายทอดไปถึง แล้วก็คิดว่าการที่มีฉันอยู่นั้นสามารถทำให้ความรู้สึกของทุกคนหลอมรวมเป็นหนึ่งได้ก็คงดีล่ะค่ะ

ส่วนตัวแล้ว เวลาได้ชมสเตจจะรู้สึกว่าต้องพยายามขึ้นมา ชอบการไปชมสเตจยิ่งกว่าอะไรเลยล่ะค่ะ

ไม่รู้ว่าเพราะชอบไอดอลก็เลยเข้าวงมารึเปล่านะ ช่วงเวลาที่ได้ไปศึกษาสเตจเนี่ยมันถึงสนุกเอามากๆ

เพราะงั้นอยากจะเป็นรุ่นพี่ที่สามารถใกล้ชิดรุ่น 16 ที่สุด และสักวันหนึ่งหากได้ยืนสเตจร่วมกัน ก็อยากจะเป็นคนที่สามารถคอยสอนผ่านแผ่นหลังของตัวเองได้ค่ะ

อยากจะนำสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการโปรดิวซ์รุ่น 16 นำกลับไปทีมตัวเองในตอนนี้ เพื่อไปใช้ในการทำงานต่อจากนี้ค่ะ!

 

※ ในตอนที่ให้สัมภาษณ์ มีกำหนดการที่จะเริ่มสเตจแรกด้วย 16 คน แต่ว่ามีเมมเบอร์ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ขึ้นแสดงในด้าน Performance ก็เลยเริ่มสเตจรอบแรกด้วยการแสดงโดย 15 คน

 

 

ที่มา: AKB48 Mobile