เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ปัจจุบันยังคงไม่สู้ดี แถมรัฐบาลประเทศญี่ปุ่นประกาศใช้ภาวะฉุกเฉินเสียอีก ทาง AKB48 เลยย้ายจากพื้นที่ ‘อากิฮาบาระ’ มายัง ‘ที่บ้าน’ ของเมมเบอร์แต่ละคนแทน และเริ่มโปรเจกต์ OUC48 (ย่อมาจาก Ouchi ที่แปลว่าบ้าน) ขึ้นมา
1 ในกิจกรรมที่สร้างความเพลิดเพลินผ่านหน้าจอก็คือการแสดงสเตจ ‘Ouchi Pajama Drive’ (ชื่อเดิม ‘Pajama Drive’) ที่เล่นไปวันที่ 16 เมษายนที่ผ่านมา โดยน้องเล็กของวงอย่างดราฟท์รุ่น 3, รุ่น 16 และคิตาซาวะ ซากิ (ซักกี้) จากรุ่น 13
สำหรับตัวผู้เขียนติดตามสเตจ ‘Pajama Drive’ และดราฟท์รุ่น 3 อยู่แล้ว เลยอยากจะบอกเล่าเกี่ยวกับไลฟ์สเตจหนนี้ถึงรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่น่าสนใจที่เมมเบอร์ใส่มา หรือแนะนำเมมเบอร์ที่เล่นสเตจนี้เผื่อว่าจะเพลิดเพลินกับสเตจนี้กันมากขึ้น
สเตจ ‘Pajama Drive’
ที่มาภาพ จาก @Sakii_Kitazawa
สเตจที่เล่นโดยเคงคิวเซจากดราฟท์รุ่น 3 และรุ่น 16 โดยมีรุ่นพี่อย่าง คิตาซาวะ ซากิ (ซักกี้), มุรายามะ ยุยริ (ยุยรี่), ยามาเบะ อายุ, ยูโมโตะ อามิ (ยูอามิ), อิจิคาวะ มานามิ, คาชิวากิ ยูกิ (ยูกิริน) มาช่วยขึ้นแสดงในบางทียามขาดคนหรือมาให้คำแนะนำรุ่นน้อง สเตจนี้แสดงตั้งแต่วันที่ 18 พฤศจิกายน 2018 จนถึง 27 ธันวาคม 2019 รวมทั้งสิ้น 120 รอบการแสดง และครองแชมป์สเตจที่เล่นเยอะที่สุดในปี 2019 ไปด้วยจำนวน 112 รอบการแสดง
สเตจ ‘Ouchi Pajama Drive’
ประเดิมทดลองจัดสเตจจากที่บ้านของแต่ละคนด้วยการเปิดเพลงฉบับต้นฉบับแล้วใช้โปรแกรม Zoom ในการเชื่อมทั้ง 16 จอส่งตรงหาคนดู เนื่องด้วยไลฟ์จากบ้านของแต่ละคนทำให้ภาพและเสียงมีความเหลื่อมกันไปบ้าง แถมเมมเบอร์บางคนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ใส่แรงมากไม่ได้ไม่งั้นจะรบกวนคนอื่น แต่ก็รับชมได้เพลินๆ ให้หายคิดถึงในสถานการณ์เช่นนี้
อย่างเพลงลำดับที่ 3 Gokigen Naname na Mermaid จะมีอุปกรณ์ อาทิ ลูกบอล เล่นกันระหว่างเพลง หลังจบท่อนฮุคแรก เป็นช่วงฟรีสไตล์ที่เมมเบอร์จะหยอกล้อกันสนุกสนาน
สำหรับไลฟ์ฉบับจากบ้าน นากาโทโมะ อายามิ (อายามิน) มีเตรียมลูกบอล และโอโมริ มาโฮะ (มาโฮะเปี้ยน) ถือตุ๊กตากระต่ายไว้เล่นตลอดด้วย ส่วนเมมเบอร์คนอื่น จะเล่นกล้องกับแฟนๆ ตามสไตล์แต่ละคน
สำหรับใครที่ไม่ทันดูว่าใครเป็นใครในช่วงต้น ช่วงแนะนำตัวก็จะได้ฟังทีละคนชัดๆ หน่อย ไฮไลท์ของการแนะนำตัวสเตจนี้คงไม่พ้น Catchphrase ของ นากาโนะ เมกุมิ (เมกุมิน) จากทีม Kที่เป็น Catchphrase ประเภททุกคนต้องเล่นด้วย เมื่อเมกุมินพูดว่า “Minna no Kokoro ni Megumin Punch! (เมกุมินพันช์ไปยังหัวใจของทุกคน!)” ทุกคนก็จะต้องล้มเหมือนโดนจัดการ ในฉบับเล่นจากที่บ้าน (เกือบ) ทุกคนล้มกระเด็นหายไปจากจอเลยทีเดียว
หลังจากนั้นก็เข้าสู่ช่วงยูนิตที่จอจะเหลือจำนวนเท่าเมมเบอร์ที่เล่นยูนิต ที่ต่างจากสเตจปกติคือจะมีการแนะนำก่อนเข้ายูนิตถัดไปทุกครั้ง คาดว่าเป็นการส่งสัญญาณแจ้งให้เมมเบอร์ยูนิตถัดไปแสตนด์บาย
แนะนำเมมเบอร์ตามยูนิตที่เล่น
Tenshi no Shippo (มาโฮะเปี้ยน, คุราระ, ยูซึ)
ยูนิตไอดอลจ๋าโดยดราฟท์รุ่น 3 ทั้ง 3 คน เซ็นเตอร์ของยูนิตนี้คือ โอโมริ มาโฮะ (มาโฮะเปี้ยน) เมมเบอร์จากดราฟท์รุ่น 3 ที่มาแรงสุดขณะนี้ ได้รับเลือกเป็นสมาชิกยูนิตดาวรุ่งรุ่นใหม่ของ AKB48 อย่าง lxR อีกทั้งตำแหน่งเซ็นเตอร์ของเพลง Omoide My Friend จากเพลงรองของซิงเกิล Shitsuren, Arigatou
คุราโมโตะ มิยู (คุราระ) เป็น 1 ในเมมเบอร์ที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยขึ้นสเตจทีม B ยามขาดคน ช่วงปลายปีที่แล้วขึ้นสเตจทีม B บ่อยขนาดที่แฟนบางคนแซวว่า “ขอคุราระให้ทีม B เลยได้มั้ย” คุราระชอบคุยเรื่องของกิน ขนาดหัวข้อ MC ถ้าวกเข้าประเด็นของกินได้จะวกเข้าตลอด เจ้าตัวอยากให้คำพูดประจำตัว “โอฮาโยคุราระ (おはようくらら อรุณสวัสดิ์คุราระ)” เป็นที่นิยม
โยชิฮาชิ ยูซึกะ (ยูซึ) เจ้าของ Catchphrase “ยูซึโค่ยกันรึเปล่าคะ? (โค่ยหมายถึงความรัก)” ซึ่งมีสเตจนึงที่ยูซึแนะนำตัว MC เป็นคนแรก แล้วเพื่อนและรุ่นพี่ยังเอาไปแซวกันต่อโดยใช้ชื่อตัวเองคู่กับ “…โค่ยกันรึเปล่าคะ?” กันทั้ง 16 คนเป็นสีสันไม่น้อย ในยูนิตนี้ที่จริงแล้วมีการเล่นกับลูกโป่ง โดยยูซึก็เตรียมหัวใจเป่าลมอันเล็กๆ น่ารักและไมค์ไว้ถือประกอบด้วย
- โอโมริ มาโฮะ (มาโฮะเปี้ยน) Team B | Twitter | Instagram | SHOWROOM
- คุราโมโตะ มิยู (คุราระ) Team 4 Draft Kenkyuusei | SHOWROOM
- โยชิฮาชิ ยูซึกะ (ยูซึ) Team 4 Draft Kenkyuusei | SHOWROOM
Pajama Drive (รันจัง, ซักกี้, ซาโต้มินะ)
เซ็นเตอร์ของยูนิตนี้คือ โคบายาชิ รัน (รันจัง) เมมเบอร์ที่มีฝีมือ Performance ระดับต้นๆ ของดราฟท์รุ่น 3 และครองแชมป์เมมเบอร์ที่ขึ้นสเตจเยอะที่สุดในปี 2019 ไปด้วยจำนวน 136 ครั้ง ไม่นานมานี้ก็ได้แสดงฝีมือการเต้นไปในไลฟ์ Dance Battle ให้รุ่นพี่ทีมอื่นได้เห็น แต่เดิมตำแหน่งนี้คือตำแหน่งของ ยาฮากิ โมเอกะ ที่จบการศึกษาไปแล้ว
รันจังเปลี่ยนชุดให้ดูคล้ายกับชุดนอนที่เล่นในช่วงยูนิต ซึ่งเตรียมกระทั่งผ้าคาดหัวเลยทีเดียว
คิตาซาวะ ซากิ (ซักกี้) จากรุ่น 13 สมาชิกรุ่นพี่หนึ่งเดียวในสเตจรอบนี้ ถ้า มุรายามะ ยุยริ (ยุยรี่) คือหม่าม้าของรุ่น 16 ซักกี้ก็คือหม่าม้าของดราฟท์รุ่น 3 (หรือย่อว่า D3 อ่านว่า “โดระซัง”) ก่อนที่ยุยรี่จะครองแชมป์ขึ้นแสดงเธียเตอร์สูงสุดในปี 2014-2017 ซักกี้เป็นคนครองแชมป์ปี 2013 มาก่อน ส่วนปัจจุบันซักกี้บอกว่าอยากให้ความสำคัญทั้งการแสดงเธียเตอร์และละครเวทีอย่างเต็มที่ทั้ง 2 เวที
ซาโต้ มินามิ (ซาโต้มินะ) จากรุ่น 16 ที่หลายคนน่าจะรู้จักจากรายการ PRODUCE48 ตอนซาโต้มินะอยู่ BOOMBAYAH ทีม 2 ซึ่งทำให้มีแฟนคลับชาวเกาหลีติดตามเยอะตั้งแต่สมัยยังเป็นเคงคิวเซ ตัวซาโต้มินะเองเป็นแฟนอนิเม, เกม, นักพากย์ขนาดหนัก และค่อนข้างวาดรูปเก่งเลยทีเดียว
- โคบายาชิ รัน (รันจัง) Team K | Twitter | SHOWROOM
- คิตาซาวะ ซากิ (ซักกี้) Team B | Twitter | SHOWROOM | 755
- ซาโต้ มินามิ (ซาโต้มินะ) Team A | Twitter | SHOWROOM | 755
Junjou Shugi (ฮิโตมิน, ซากิป้ง, ยูสึจัง)
เซ็นเตอร์ของยูนิตนี้คือ โอทาเกะ ฮิโตมิ (ฮิโตมิน) จากดราฟท์รุ่น 3 ฮิโตมินมีชื่อเรียกอีกชื่อคือ จาเกะ ที่พักหลังจะมีคนเรียกชื่อนี้มากกว่ากระทั่งเมมเบอร์ด้วยกันเอง โดยแผลงมาจาก โอทาเกะ→โอจาเกะ→จาเกะ ฮิโตมินปัจจุบันเรียนอยู่มหาวิทยาลัยทางด้านดนตรี เมื่อปี 2018 ติด 1 ใน 21 เมมเบอร์ที่ผ่านรอบคัดเลือกการแข่งขันทักษะร้องเพลงของ 48G ด้วย
การเตรียมชุดที่เหมือนกับชุดที่เล่นจริงก็ดูจะยากไปหน่อย แต่ฮิโตมินเลือกชุดแดงเพื่อคุมโทนแทน
มิจิเอดะ ซากิ (ซากิป้ง) จากรุ่น 16 ที่เคยออดิชั่นดราฟท์รุ่น 2 มาก่อน เลยสนิทกับ จิบะ เอรี่ ที่อยู่ดราฟท์รุ่น 2 และอยู่ทีม A ด้วยกัน ด้วยจากที่ตามองเห็นมีลุคความเป็นผู้ใหญ่ จึงเหมาะกับยูนิตนี้ที่เป็นแนวสวยๆ ผู้ใหญ่ๆ
สุเอนากะ ยูสึกิ (ยูสึจัง) น้องเล็กสุดของดราฟท์รุ่น 3 ที่อายุเพียงวัย 14 ปี แต่กลับเป็นเด็กที่ดูนิ่งๆ กระทั่งเวลาเล่นมุกตลกก็ยังน้ำเสียงโทนเดิม ด้วยความที่มีคาแรคเตอร์แบบนี้เลยเคยได้รับหน้าที่ MC ช่วง ‘ห้องไขเรื่องกลุ้มของยูสึจัง’ ส่วนการแสดงเธียเตอร์พักหลังยูสึจังก็ไปช่วยขึ้นสเตจทีม A อยู่หลายหน
- โอทาเกะ ฮิโตมิ (ฮิโตมิน) Team B | Twitter | Instagram | SHOWROOM
- มิจิเอดะ ซากิ (ซากิป้ง) Team A | Twitter | Instagram | SHOWROOM | TikTok | 755
- สุเอนากะ ยูสึกิ (ยูสึจัง) Team K Draft Kenkyuusei | SHOWROOM
Temodemo no Namida (โอคารินะ, ฮาตัน)
ยูนิตของโอตาคุและโอชิเมม ไซโต้ ฮารุนะ (ฮาตัน) จากดราฟท์รุ่น 3 ที่น่าจะเป็นเมมเบอร์ที่ทวีตถี่เป็นอันดับต้นๆ ของวง แถมเนื้อหายังคงความแหวกแนวและตลก เมื่อเร็วๆ นี้ขนาดเอาค่าพาย (π) มาใส่เนื้อเพลง Heavy Rotation ด้วย ฮาตันเล่นอะคูสติกกีตาร์ได้ จะเล่นให้แฟนๆ ฟังตาม SHOWROOM นานๆ หน
ซึ่งฮาตันเปิดเผยตัวว่ามี โอคาดะ รินะ (โอคารินะ) เป็นโอชิเมม แต่ฝั่งโอคารินะเพื่อนร่วมรุ่นก็ดูเหมือนจะซึนเดเระใส่เสมอ ซึ่งโอคารินะเป็นแฟนตัวยงของวง Keyakizaka46 ขนาดสวมเสื้อเคยากิมาร่วม Dance Battle กับรุ่นพี่เลยทีเดียว (ฮา) ส่วนโอชิเมมใน 48G คือ นากาอิ ริกะ (NGT48) ซึ่งฝั่งริกะก็เคยเอาเสื้อผ้าของตัวเองให้โอคารินะด้วย
Kagami no Naka no Jeanne D’arc (เซนะตัน, เคียวน์, อายามิน, เมกุมิน, นัตสึนัน)
เซ็นเตอร์ของยูนิตนี้คือ อิชิวาตะ เซนะ (เซนะตัน) จากดราฟท์รุ่น 3 ที่พักหลังคนน่าจะคุ้นหน้ากันมากขึ้น เพราะช่วยขึ้นสเตจทีมอื่นครบทุกทีม ไม่ว่าจะทีม A, ทีม K หรือทีม B และตอนที่มีไลฟ์แบบไร้ผู้ชมเมื่อไม่นานนี้ หากรวม Back Dancer, Zenza ด้วย จะเท่ากับว่าเซนะตันขึ้นเกือบทุกสเตจในหนนั้นเลย สำหรับเพลงนี้เซ็นเตอร์จะต้องถือธง โดยเซนะตันเตรียมธง OUC48 ที่ทำเองมาถือประกอบด้วย
ทาดะ เคียวกะ (เคียวน์) จากดราฟท์รุ่น 3 ย้อนไปงานเป่ายิ้งฉุบของ 48G เมื่อปี 2018 ที่ยูนิต Fortune Cherry ของเคียวน์ชนะเลิศการแข่งการแข่งขัน จนได้ออกเพลง Himawari no Nai Sekai โดย MV ถ่ายทำที่จังหวัดฟุกุอิบ้านเกิดของตน
นากาโนะ เมกุมิ (เมกุมิน) จากดราฟท์รุ่น 3 เมกุมินก็เป็นเมมเบอร์ที่ไปช่วยขึ้นแสดงสเตจทีม B อยู่หลายหน สำหรับ Catchphrase ‘เมกุมินพันช์’ นี่บางทีจะโดนเมมเบอร์แกล้งไม่ล้ม ทำให้เจ้าตัวต้องพยายามทำท่าต่อยซ้ำ แถมในทีม K เองยังโดน คุราโน่ นารุมิ (นารุ จาก จ.คุมาโมโตะ) ตั้งชื่อให้ว่า ‘พันช์จัง’ ด้วย
นากาโทโมะ อายามิ (อายามิน) จากรุ่น 16 ซึ่งสเตจนี้ อายามินเตรียมทั้งอุปกรณ์และเปลี่ยนชุดเต็มที่ แสดงให้เห็นความใส่ใจเพื่อให้แฟนๆ รับชมสเตจนี้ได้อย่างเพลิดเพลินเต็มที่ อย่างวันที่งานจับมือยกเลิก อายามินจัดไลฟ์ SHOWROOM ตรงกับเวลาจับมือของตัวเองในวันนั้น เขียนลายเซ็นและทวีตรูปให้แฟนๆ เป็นการชดเชยงานจับมือที่ถูกยกเลิกไป
ฟุรุคาวะ นัตสึนะ (นัตสึนัน) ถึงจะเดบิวต์เธียเตอร์ช้าที่สุดในดราฟท์รุ่น 3 (28 พฤศจิกายน 2018) แต่ทั้งในตำแหน่งสเตจ ‘Pajama Drive’ ก็เล่นยูนิตหลากหลายแนว รวมไปถึงอันเดอร์ตำแหน่งต่างๆ ในสเตจทีม A และล่าสุดก็ไปช่วยขึ้นสเตจทีม B ด้วย
- อิชิวาตะ เซนะ (เซนะตัน) Team 4 Kenkyuusei | SHOWROOM
- ทาดะ เคียวกะ (เคียวน์) Team 4 | Twitter | SHOWROOM | 755
- นากาโนะ เมกุมิ (เมกุมิน) Team K Kenkyuusei | SHOWROOM
- นากาโทโมะ อายามิ (อายามิน) Team K | Twitter | Instagram | SHOWROOM | 755
- ฟุรุคาวะ นัตสึนะ (นัตสึนัน) Team A Kenkyuusei | SHOWROOM
ช่วงจบยูนิตจะเข้าสู่ MC อีกครั้ง เคียวน์เล่าว่าเห็นอย่างนี้เหมือนเล่นสเตจคนเดียว แต่คนที่บ้านช่วยโบกแท่งไฟเชียร์กันด้วย ส่วนรันจังบอกว่าจัดสเตจแบบนี้แล้วรู้สึกประหม่าอยู่แปลกๆ เหมือนกัน
เข้าสู่ช่วงการแสดงอีกครั้ง กลางสเตจเป็นพาร์ทเพลงเท่ในชุดนักเรียนโดยเริ่มจาก Two years later โดยอายามินก็พยายามหาชุดที่คล้ายๆ กับเพลงต้นฉบับออกมาได้เหมือนมาก ส่วนรันจังดูเหมือนจะหาชุดแนวเดียวกันไม่ได้ เลยเป็นชุดนักเรียนฉบับปกกะลาสีแทน
ที่มาภาพ จาก @_RanRan_K
ที่มาภาพ จาก @ayamin_1112
เข้าสู่ช่วง MC อีกครั้งในครั้งนี้เมมเบอร์จะอ่านคอมเมนท์และชื่อคนที่ปา Gift เสียเงินทาง SHOWROOM เพื่อพูดคุยกับผู้ชม
เพลงสุดท้ายในช่วงการแสดงหลัก เพลง Boku no Sakura อายามินก็เตรียมป้ายมาชูมาในช่วงที่ไม่ใช่ท่อนร้องเพลงของตัวเอง
โดยเขียนว่า “ส่งต่อความสดใสถึงญี่ปุ่น! OUC48 Project” “ถึงจะไม่ได้เจอกัน แต่ก็นึกถึงทุกคนนะ” แสดงให้เห็นความใส่ใจต่อแฟนๆ
ช่วงอังกอร์ เพลง Let’s Go Kenkyuusei ท่อนที่พูดชื่อเมมเบอร์จะตัดท่อนร้องออกและให้ร้องสดกัน ถึงจะมีดีเลย์ระหว่างกันอยู่บ้างแต่ก็พอถูไถไปได้ ส่วนเพลงสุดท้าย Shiroi Shirt (เสื้อเชิ้ตสีขาว) ที่ปกติเมมเบอร์จะสวมเสื้อเชิ้ตสีขาวทับกลางเพลง สเตจจากที่บ้านเมมเบอร์บางคนก็เลยเตรียมเสื้อเชิ้ตสีขาวมาสวมทับเช่นกัน
ในช่วงท้ายจะอ่านชื่อผู้ชมอันดับ 1-13 ของ SHOWROOM และปิดท้ายด้วยการรณรงค์ไม่ออกจากบ้านหากไม่จำเป็น
ช่วงทักทายตอนจบ ที่ปกติจะจับมือกันแล้วโค้งให้กับผู้ชม แต่พอเป็นสเตจจากที่บ้านแล้ว ไม่มีคนให้จับก็ดูแปลกดีเหมือนกัน (ฮา)
สามารถรับชมสเตจ ‘Ouchi Pajama Drive’ ย้อนหลังได้ทาง YouTube ของ AKB48!
นอกจากนี้ยังเคยมีไลฟ์สเตจ ‘Pajama Drive’ ฉบับดราฟท์รุ่น 3 (6 มีนาคม 2020) ที่จัดที่ห้องซ้อมช่วงการระบาดของโควิด-19 ก่อนหน้านี้ ซึ่งมีให้รับชมทาง YouTube เช่นกัน (วินาทีที่ 2:00:59 เป็นต้นไป)
ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แบบนี้ ถึงจะน่าเสียดายที่ไม่สามารถทำกิจกรรมวงต่างๆ ได้ตามปกติ แต่ทั้งเมมเบอร์และทีมงานพยายามคิดหากิจกรรมที่จะพอช่วยให้สนุกกันทั้งสองฝ่ายผ่านหน้าจอที่ช่วยให้หายเหงาและแก้เครียดไปบ้าง ได้แต่หวังว่าจะกลับมาจัดกิจกรรมวงได้ตามปกติในเร็ววัน
บทความที่เกี่ยวข้อง
- OUC48 Project : เมื่อ AKB48 ต้อง Work For Home (15/04/2020)
- [รีพอร์ต] สเตจ Pajama Drive และงานจับมือเดี่ยวซิงเกิ้ล NO WAY MAN (15-17/03/2019)