บทความที่แล้วได้แนะนำระบบจัดงานจับมือเดี่ยวไป และช่วงนี้วง BNK48 บ้านเรากำลังจะมีจัดกิจกรรมถ่ายรูปเร็วๆ นี้ เราเลยถือโอกาสมาแนะนำให้รู้จักกับระบบการจัดงานของฝั่งวงพี่ที่ญี่ปุ่นว่าเป็นอย่างไร และมีของสุ่มแถมพิเศษอะไรนอกเหนือจากการถ่ายรูปบ้างค่ะ

 

งานถ่ายรูปคู่ของ AKB48

Oguri Yui – AKB48 (ที่มา)
 

งานถ่ายรูปคู่ (大写真会) หรืองานทูชอต (ภาษาญี่ปุ่นเรียกสั้นๆ ว่า 写メ会 ชาเมะไค ) เป็นกิจกรรมฉลองการวางจำหน่ายอัลบั้มของ AKB48 ซึ่งมีเพียงปีละ 1 ครั้ง โดยเราสามารถเลือกถ่ายรูปคู่กับเมมเบอร์ที่เราชอบได้จากการลงบัตรทูชอตของแผ่นอัลบั้ม โดยถ่ายรูปด้วยกล้องโทรศัพท์มือถือของเราเองค่ะ

 

งานถ่ายรูปในอดีต

งานถ่ายรูปเมื่อก่อนจะเป็นรูปแบบยืนถ่าย มี Block ให้ยืนตามจุดดังภาพข้างล่างนี้

Kojima Mako – AKB48 (ที่มา)
 
แต่ว่าวันที่ 25 เมษายน 2014 เกิดคดีสะเทือนใจที่คนร้ายที่จิตไม่ปกติพกอาวุธเข้าไปทำร้ายเมมเบอร์ในงานจับมือทั่วประเทศ  (อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่)  ทำให้งานต่างๆ ในช่วงนั้นถูกยกเลิกและเลื่อนไปก่อน และหลังจากกลับมาจัดได้อีกครั้งก็เพิ่มโต๊ะกลมคั่นกลางระหว่างเราและเมมเบอร์แทน
 
Kashiwagi Yuki – AKB48 (ที่มา)
 

หลังจากคดีนั้นงานทูชอตก็เปลี่ยนมาจัดแบบใช้โต๊ะกลมขนาด 90 cm คั่นกลาง แฟนไทยบางคนเรียกขำๆ ว่าโต๊ะจีน (ฮา) ซึ่งปี 2016 แผ่นอัลบั้ม 0 to 1 no Aida มีราคาสูงถึง 2,700 เยน ทำให้รู้สึกว่าความคุ้มค่าลดลงขึ้นไปทันที เพราะความใหญ่ของโต๊ะทำให้บาลานซ์ภาพเสีย (คิดเหมือนกันไหมคะ? ฮา)

แต่ในที่สุดปีล่าสุด (ปี 2018) ก็ลดขนาดโต๊ะกลมเหลือ 60 cm ซะที…!!


 

งานถ่ายรูปในปัจจุบัน

Komiyama Haruka – AKB48 (ที่มา)
เก้าอี้ข้างๆ โคมิฮารุ รอผู้อ่านไปถ่ายรูปด้วยค่ะ (ฮา)


งานของอัลบั้มล่าสุดขนาดของโต๊ะลดลงเหลือ 60 cm เมื่อคิดรวมกับราคาบัตรทูชอตจากแผ่น CD แบบ Theater Edition ที่มีราคา 2,000 เยน (ประมาณ 600 บาท) ก็พอจะดูรับได้ขึ้นมาบ้าง (ฮา)
 
โดยปัจจุบัน จะแบ่งเป็นรอบถ่ายรูป แบบภาพเต็มตัว (ヒキ) และภาพครึ่งตัว (ヨリ)  และยังมีของแถมพิเศษอื่นๆ ที่จะกล่าวถึงในหัวข้อถัดไป


ตัวอย่างภาพเต็มตัว (ヒキ)

Okada Nana – AKB48 (ที่มา)
 

ตัวอย่างภาพครึ่งตัว (ヨリ)
Kubo Satone – AKB48 (ที่มา)

ซึ่งเวลาเราลงบัตรทูชอต หลังชื่อเมมเบอร์จะมีเขียนบอกระหว่าง 【ヒキ】(เต็มตัว) และ【ヨリ】(ครึ่งตัว) ถ้าชอบแบบไหนลงแบบนั้นตามสะดวกเลยค่ะ

 
วิธีการลงบัตรทูชอต

วิธีการลงนั้นเหมือนกับงานจับมือทั่วไป เริ่มจากเลือกลงสุ่มเมมเบอร์ที่อยากถ่ายรูปด้วย และในตอนท้ายก็ชำระเงินเฉพาะส่วนที่สุ่มบัตรได้ อ่านวิธีการลงบัตรอย่างละเอียดยิบได้ที่  วิธีลงบัตรงานจับมือ  

 
สำหรับงานทูชอต จะมีอัตราการถูกบัตรสูงกว่าการลงจับมือของซิงเกิล ในการกดสุ่มรอบแรกสุด ต่อให้เป็นเมมเบอร์ท็อปๆ เรียกได้ว่ามีโอกาสสุ่มติดแทบจะ 100% เลยทีเดียว (ถ้างานไม่ชนกับพวกเทศกาลวาเลนไทน์น่ะนะ)

 

ของแถมพิเศษ

นอกจากจะได้ถ่ายรูปแล้ว ยังสามารถลุ้นสุ่มของแถมได้เพิ่มเติม ซึ่งแต่ละปีอาจจะมีการปรับรูปแบบของแถมที่แตกต่างกันไป แต่จะมาขอเล่าถึงของแถมพิเศษจากอัลบั้มล่าสุดอย่าง Bokutachi wa, Ano Hi no Yoru no Yoake wo Shitteiru (僕たちは、あの日の夜明けを知っている) ดังนี้
 
ลุ้นต่อที่ 1 : กิจกรรมเซ็นปกซีดี (CDジャケットサイン会)
ตัวอย่างกิจกรรมเซ็นปกซีดีของ Asai Nanami – AKB48 (ที่มา)
 
โดยของแถมนี้ลุ้นได้ตั้งแต่วันที่แผ่นอัลบั้มมาส่งถึงบ้าน ถ้าโชคดีจะมีบัตรเข้าร่วมกิจกรรมเซ็นปกซีดี (CDジャケットサイン会参加券) ใส่มาในกล่องด้วย ในงานทูชอตจะมีแจกบัตรนี้ทั้งหมด  20,000 ใบต่อวันจัดงาน อย่างอัลบั้มนี้จัดถึง 6 วัน ก็จะมีแจกทั้งหมดถึง 120,000 ใบเลยทีเดียว 
 
ภาพตัวอย่างบัตรเข้าร่วมกิจกรรมเซ็นปกซีดี (ที่มา)
 
บนบัตรจะมีระบุวันที่ที่สามารถใช้บัตรได้ แต่เมมเบอร์ที่มีบุจับมือ 6 บุสามารถจะไม่มีกิจกรรมนี้ (เช่น ซายะเน่, จูรินะ, ยูกิริน, นาจัง, ริกะ ฯลฯ) โดยจะมีประกาศตารางรอบลายเซ็นตั้งแต่ให้ลงบัตรทูชอตกันเลย ฉะนั้นสามารถเล็งว่าอยากไปหาใครแต่เนิ่นๆ

เท่าที่เห็นจากคนรอบตัว ถ้าซื้อสัก 10 ใบต่อให้แต้มบุญน้อยแค่ไหนอย่างน้อยก็ได้สัก 1 ใบ (คิดว่า…) ซึ่งหากมีบัตรนี้ก็ถือเป็นโอกาสอันดีที่จะได้ลายเซ็นเมมเบอร์ที่ชอบอย่างชัวร์ๆ ค่ะ

 
ลุ้นต่อที่ 2 : ถ่ายเชกิ หรือ Short Film
นอกจากลุ้นตอนกล่อง CD ส่งมาถึงบ้านแล้ว ในวันงานเราสามารถไปลุ้นในเลนอีกต่อ ว่าจะได้ถ่ายเชกิ (ถ่ายโพราลอยด์) หรือถ่าย Short Film คู่กับเมมเบอร์ จากการสุ่มด้วย iPad เจ้าเก่า (อ่านเพิ่มเติมใน  [Guide] ลุยงานจับมือเดี่ยว  ถ้าวืดก็แค่ถ่ายรูปคู่ด้วยโทรศัพท์มือถือตามปกติ
 
ตัวอย่างเชกิของ Fukuoka Seina – AKB48 (ที่มา)

โดยกิจกรรม 2 อย่างนี้ สามารถเลือกได้ตามใจชอบ ถ้าเลือกเชกิเราจะได้รูปถ่ายคู่เมมเบอร์ (ภาพจะเต็มหรือครึ่งตัวขึ้นกับว่าลงบุไหน) พร้อมกระดาษปกแข็งเป็นที่มาลายเซ็นเมมเบอร์กลับบ้านไปเป็นที่ระลึกด้วยค่ะ ถ้าเลือกถ่ายเชกิหรือ Short Film แล้ว จะไม่ได้ถ่ายรูปผ่านโทรศัพท์มือถือนะคะ

และเช่นเดียวกับเคสกิจกรรมแจกบัตรลายเซ็น เมมเบอร์ที่มี 6 บุ จะสุ่มได้แค่ถ่ายรูปเชกิอย่างเดียว ไม่สามารถสุ่ม Short Film ที่เป็นวิดีโอได้

ตัวอย่าง Short Film ของ Taniguchi Megu
 
สำหรับ Short Film ในคลิปตัวอย่างจะเห็นแค่เมมเบอร์ แต่จริงๆ แล้วถ่ายติดทั้ง 2 คน โดยจะมีบทพูดให้เลือกว่าอยากได้ซีนแบบไหน ส่วนใหญ่ถ้าสนิทกับเมมเบอร์จะปรับบทพูดกันค่ะ และเมื่อถ่ายวิดีโอด้วยมือถือเราเสร็จ ก็จะได้หนังสือบทพร้อมลายเซ็นเมมเบอร์กลับบ้านไปด้วยค่ะ

สำหรับกิจกรรมนี้จะมีคนถูกเพียง 48 ใบ/วัน/เมมเบอร์ ถ้าเมมเบอร์นั้นมีงานถ่ายรูป 3 บุ ก็จะเป็น 48/3 = 16ใบ/บุ ถ้าเป็นเมมเบอร์ที่มี 6 บุก็จะมี 8ใบ/บุ ค่ะ
 

ปัจจุบันนอกจากได้ถ่ายรูปกับเมมเบอร์ที่ชอบแล้ว ยังมีสิทธิ์ลุ้นลายเซ็นหรือเชกิเพิ่มขึ้นอีก หัวข้อต่อไปมาพบกับวิธีการลุยงานถ่ายรูปคู่ในส่วนที่ต่างจากจับมือเดี่ยวค่ะ

 

เตรียมก่อนลุยงาน

 

ตรวจสอบบุของกิจกรรมเซ็นปกซีดี (ตั้งแต่ช่วงลงบัตรทูชอต) 

สำหรับกิจกรรมเซ็นปกซีดีจะมีประกาศเวลาที่จะจัดล่วงหน้า ผ่าน  Official Website  ของผู้จัด ตั้งแต่ช่วงเปิดให้ลงบัตร โดยจะมีชื่อหัวข้อยาวๆ ว่า AKB48 – เลขอัลบั้ม- thアルバム「- ชื่ออัลบั้ม -」劇場盤(- วันวางจำหน่าย – 発売)発売記念大写真会 内容詳細発表! ให้ดูตรง 内容詳細発表 (ประกาศรายละเอียดเนื้อหา)

ตัวหนังสือเยอะอาจจะลายตาลองกด Ctrl+F หาด้วยคำว่า ジャケットサイン会 ดู

ตัวอย่างภาพประกอบจาก 9th Album

 

ชื่อลิงก์นั้นเป็นภาษาอังกฤษค่อนข้างเข้าใจง่าย ลองคลิกหาเมมเบอร์ที่ชอบเลยค่ะ ไล่จากบุ 1 ไปยังบุสุดท้าย ซึ่งการประกาศแต่แรกทำให้เราวางแผนได้ว่า กรณีที่เรามีบัตรเซ็นปกซีดี จะได้เผื่อเวลาไว้ ไม่ลงถ่ายรูปในเวลาเดียวกันแน่นเกินไป

ตัวอย่างจากตารางกิจกรรมลายเซ็นของอัลบั้มที่ 9

ตรงหมายเหตุ จะมีบอกว่าเมมเบอร์บางคนไม่เข้าร่วมกิจกรรมลายเซ็นปกซีดีในบางวัน เช่น จากภาพ 4月8日(日)のCDジャケットサイン会を不参加とさせて頂きます ให้สังเกตตรงวันที่ (เดือนแล้วตามด้วยวันที่) กับคำว่า  不参加 (ไม่เข้าร่วม)
ส่วนเมมเบอร์ทีม 8 ไม่ได้เข้าร่วมทุกรอบ โดยจะแยกบอกว่าเป็นรายวันแทนว่าทีม 8 คนไหนเข้าร่วมวันไหนบ้าง


 

เช็คเลน (ก่อนวันงาน 1 วัน)

เช่นเดียวกับงานจับมือทั่วไป สามารถหารายละเอียดพวกแผนผังงาน และเช็คเลนได้ก่อนวันงาน 1 วันผ่าน  Official Website  จากหัวข้อที่ลงท้ายว่า 開催詳細について (รายละเอียดการจัดงาน)

จากนั้นลองหาข้อความดังภาพข้างล่างดูค่ะ

จากภาพ ลิงก์ภาษาอังกฤษลงท้ายด้วย /20180609-intex-member.pdf (จะเป็น วันที่-สถานที่จัดงาน-member.pdf)


โดยตารางจะรวมทั้ง  CDジャケットサイン会 (ลายเซ็นปกซีดี)  และ  大写真会 (ถ่ายรูป)  ต้องส่องให้ดีว่าอันไหนเป็นอันไหน

ตัวอย่างตารางเลขเลนจาก งานวันที่ 09/06/2018


 CDジャケットサイン会 (ลายเซ็นปกซีดี)  บางเลนจะมีเมมเบอร์ 2 คนในเลนเดียว (เลนที่ 3 และ 5 ดังภาพ) สตาฟจะให้เราเลือกว่าจะขอลายเซ็นคนใดคนนึง แต่ตอนเซ็นสามารถคุยได้ 2 คนค่ะ (ส่วนใหญ่เมมเบอร์จะชวนคุย เพราะรอเงียบๆ แล้วมันอึดอัด…มั้งนะ)

ส่วน  大写真会 (ถ่ายรูป)  รายละเอียดตามข้างล่างนี้

 
①  ฮอลล์จัดงาน  = อันนี้เป็นกรณีงานที่ Intex Osaka เพราะแต่ละอาคารจะแยกกัน เลยต้องระบุอาคารไว้
6/9[★] = ในบุนี้สามารถใช้บัตรเปล่าและบัตรโอชิมาชิได้
③  5/6第1部使用可   = อันนี้เป็นเคสทูชอตที่ถูกยกเลิกกะทันหัน และสามารถใช้บัตรชดเชยบุนี้ได้ จากตัวอย่างคือให้นำบัตรทูชอตของวันที่ 6 พ.ค. บุ 1 (ที่ถูกยกเลิก) มาใช้ในรอบนี้ได้
④  *2S写真のみ  เคสของเมมเบอร์ 6 บุ ที่สามารถถ่ายรูปได้อย่างเดียว ถ่ายวิดีโอไม่ได้

นอกจากนี้ยังมีเคสของ   *6/9抽選無し   = ไม่มีการสุ่ม สามารถถ่ายเชกิหรือวิดีโอในกิจกรรมนั้นได้เลยโดยไม่ต้องสุ่ม (ถ้าประสงค์ที่จะถ่ายด้วยกล้องมือถือก็สามารถปฏิเสธได้)

ลุยงานถ่ายรูป

การลุยงานถ่ายรูปคู่นั้นขั้นตอนเหมือนกับงานจับมือเดี่ยวแทบทุกอย่างยกเว้นลำดับบางอย่างในเลนค่ะ สามารถศึกษาลำดับขั้นตอนได้จาก  [Guide] Part ลุยงานจับมือ  ได้ค่ะ


กิจกรรมถ่ายรูป

สำหรับการใช้บัตรเปล่าหรือบัตรโอชิมาชิ สามารถเลือกใช้กับบุของเมมเบอร์คนไหนก็ได้ที่หน้าเลนติดดาว[★]ได้เช่นเคย แน่นอนว่าเพราะเป็นงานถ่ายรูปจึงสามารถถ่ายรูปได้ชัวร์ ผลลัพธ์ก็คือแค่ถ่ายแบบกล้องมือถือธรรมดาเฉยๆ

1) ตรวจบัตรจับมือ & Passport
2) สุ่ม iPad
สุ่มด้วย iPad แบบเดียวกับงานจับมือทั่วไป ถ้าเราสุ่มได้จะได้รับกระดาษใบตามนี้มาค่ะ

ภาพตัวอย่าง (ที่มา)

ด้านซ้ายจะเป็น ถ่ายรูปคู่พร้อมเขียนลายเซ็นจากเมมเบอร์ (メンバー直筆サイン入り2S写真会) หรือถ่ายเชกินั่นเอง ส่วนด้านขวา ถ่าย Short Film (ถ่ายวิดีโอคู่) & ลายเซ็นบนบทพูด (ショートフィルム (2S動画会) 撮影&台本サイン会) ซึ่งจะมีซีน (シーン) ให้เลือกทั้งหมด 3 ซีน ใครพออ่านออกก็เลือกได้ตามใจชอบเลยค่ะ แต่ส่วนตัวถ้าไม่ปรับบทมันจะไม่ค่อยมีอะไรเท่าไหร่ ต่อให้เป็นคนญี่ปุ่น ส่วนใหญ่ก็จะเลือกเชกิกันค่ะ

ถ้าสุ่มถูกถ่ายเชกิหรือ Short Film ไปแล้ว บัตรใบนั้นจะไม่สามารถรูปด้วยกล้องมือถือปกติ เพราะงั้นถ้าอยากปฏิเสธการสุ่ม (อยากถ่ายรูปคู่ด้วยกล้องมือถือตัวเอง) ก็ปฏิเสธด้วยการบอกกับสตาฟตรง iPad ว่า Daijoubu desu สั้นๆ ได้เลย

3) เข้าไปในบูธ นั่งที่เก้าอี้เตรียมถ่ายรูป ก่อนถ่ายรูปเนี่ย ถ้าใครเจอเมมเบอร์ชวนคุยได้คุยเยอะก็โชคดีอาจจะได้คุยก่อนถ่าย แต่ส่วนใหญ่อย่างเก่งก็แค่ทักทายสั้นๆ ยิ่งเมมเบอร์ที่คนแน่นจะยิ่งยากค่ะ

 
Oguri Yui – AKB48 (ที่มา)
มุมมองตอนถ่ายรูปกับเมมเบอร์ประมาณนี้เลย… 
 

★ กรณีไม่ถูกอะไรเลย : ยื่นมือถือที่เปิดโหมด Camera ไว้แล้วให้กับสตาฟ เมื่อถ่ายเสร็จ คุยกับเมมเบอร์สั้นๆ รับมือถือคืน ตรวจสอบรูปในมือถือก่อนหยิบสัมภาระออกจากเลน
★ กรณีถ่ายเชกิ : ถ่ายด้วยกล้องโพลารอยด์ของสตาฟ แล้วก็เมมเบอร์จะเซ็นบนรูปถ่าย และจะได้กระดาษการ์ดสำหรับเก็บที่ระลึก
★ กรณีถ่าย Short Film : ยื่นมือถือที่เปิดโหมด Video ไว้แล้วให้สตาฟ เมมเบอร์จะอ่านบทแล้วค่อยถ่ายวิดีโอ พอถ่ายจบเมมเบอร์ก็จะเซ็นกระดาษที่เป็นบทพูดให้เราได้รับกลับบ้านเป็นที่ระลึก

อย่างถ้าใครได้ลายเซ็นก็จะโชคดีมีเวลาชวนคุยตอนเซ็นประมาณนึง แต่ถ้าถ่ายรูปปกติจะมีเวลาให้ชวนคุยสัก 1-2 ประโยคก็เต็มที่ค่ะ

เมมเบอร์บางคนเอาใจใส่ด้วยการลุกขึ้นจากโต๊ะมาส่งแฟนๆ ทีละคนด้วยค่ะ ลองสังเกตจุดนี้ดูนะคะ ถึงจะเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ถ้าโดนปฏิบัติแบบนี้ก็รู้สึกดีไม่น้อยเหมือนกันเนอะ


 

แถม : การขอท่าโพส

(ชื่อท่า) de Onegai Shimasu = ขอ(ชื่อท่า)หน่อยครับ/ค่ะ หรือไม่รู้จักชื่อท่าก็พูดว่า Kore de Onegai Shimasu พร้อมทำท่าประกอบก็ได้นะคะ

แต่ถ้าใครคิดไม่ออกอยากให้เมมเบอร์ช่วยคิดก็บอกไปว่า Omakase Shimasu แต่ว่าถ้าเมมเบอร์คิดไม่ออกอาจจะได้ท่าสิ้นคิดมาแทน ก็ลองดูว่าเมมเบอร์ที่เราไปถ่ายด้วยเป็นแนวไหนนะคะ (ฮา)

ระวัง! เกี่ยวกับท่าโพส
– ห้ามลุกจากเก้าอี้ ให้นั่งเท่านั้น
– ท่าที่สัมผัสตัว แตะได้แค่ปลายนิ้วเท่านั้น เช่น ท่าหัวใจ
– ห้ามขยับเข้ามาใกล้ตัวเมมเบอร์จนเกินไป 
รูปถ่ายเบลอจัด

ถ้าสตาฟฝีมือแย่มาก ถ่ายออกมาเบลอจนมองไม่รู้เรื่องว่าใครเป็นใครก็สามารถขอถ่ายใหม่ได้ค่ะ แต่ต้องตรวจสอบหลังได้มือถือคืนทันที กรณีจะถ่ายใหม่ให้เปิดให้ดูความเบลอแล้วพูดว่า Tori Naoshi Onegai dekimasu ka? (ขอถ่ายใหม่ได้ไหม) ถ้าสตาฟ OK เขาจะให้เราลบรูปเสียก่อนถ่ายใหม่ค่ะ แต่ถ้าเป็นปัญหานิดๆ หน่อยๆ หรือเป็นที่มือถือเราเอ๋อ เขาจะไม่ยอมให้ถ่ายให้ใหม่นะคะ

เคยสังเกตจากสมัยก่อน ที่มีปัญหามักเกิดจากมือถือ Android ซึ่งติดที่สตาฟกดโฟกัสภาพไม่เป็น แต่คิดว่าปัจจุบันไม่น่าจะต้องถึงขั้นถ่ายใหม่ ถ้าดวงไม่เจอสตาฟที่ถ่ายไม่เก่งนะคะ


 
 
ส่วนคนที่ถ่าย Short Film จะได้บทพูดหน้าตาแบบนี้กลับบ้านค่ะ
หน้าปก (ที่มา)

ส่วนที่เป็นบทพูด จะมี 3 ซีนให้เลือก

หน้าที่เป็นลายเซ็น

สำหรับงานถ่ายรูปก็มีบูธให้เขียนการ์ดวันเกิดเช่นเดียวกับงานจับมือ สำหรับใครสนใจจะเขียนอวยพรให้เมมเบอร์ที่เกิดในช่วงนั้น (ไม่เกิน 2 เดือน) ค่ะ


 

กิจกรรมเซ็นปกซีดี

สำหรับคนที่ได้รับบัตรเข้าร่วมกิจกรรมเซ็นปกซีดีเท่านั้น

สิ่งที่ต้องเตรียมไปกิจกรรมลายเซ็น

1) บัตรเข้าร่วมกิจกรรมเซ็นปกซีดี
2) ปกซีดี (พกแค่ตัวกระดาษ ไม่ต้องเอามาทั้งกล่องพลาสติก)
3) Passport

ด้านหลังบัตรก็จะมีให้เขียนชื่อและเติมคำลงท้ายแบบเดียวกับงานลายเซ็นปกติ
① ชื่อเรา: เขียนเป็นภาษาอังกฤษหรือคาตาคานะภายใน 8 ตัวอักษร
② คำลงท้ายชื่อ : วงอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่าง 様(ท่าน), さん(ซัง)、くん(คุง)、ちゃん(จัง)

ข้อควรระวัง

– บัตรเข้าร่วมกิจกรรม 1 ใบ/1 ปกซีดี ไม่สามารถเซ็นหลายคนในปกเดียวกันได้ (ต่อให้เปลี่ยนหน้าก็ตาม)
– 30 นาทีแรกยื่นบัตรได้แค่ 1 ใบเท่านั้น แต่หลังจากนั้นก็ไม่มีจำกัดจำนวนบัตร
– กรณีคนล้นมากๆ อาจจะปิดให้เข้าเลนก่อนเวลาได้ค่ะ


 

จบแล้วค่ะสำหรับบทความแนะนำงานถ่ายรูปของ AKB48 หากใครอ่านบทความแล้วสนใจที่จะเข้าร่วมงาน ประมาณปลายปีน่าจะมีเปิดให้ลงบัตรของอัลบั้มที่จะจัดงานในปีหน้า และตัวงานจะจัดช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน (อาจจะมีต่างกันไปแต่ละปีตามปัจจัยอื่นๆ)

ซึ่งงานถ่ายรูปเนี่ยต่อให้ภาษาญี่ปุ่นไม่แข็งมากก็ไม่ต้องห่วง เพราะใช้ภาษามือก็พอถูๆ ไถๆ ไปได้ แถมได้ถ่ายรูปกับเมมเบอร์ที่ชอบแน่นอน ซึ่งกับเมมเบอร์ดังที่งานจับมือทั่วไปไม่มีให้กระทั่งสุ่มถ่ายรูปเนี่ยถือว่าเป็นโอกาสดีเลยค่ะ ฉะนั้นไปถ่ายรูปกับโอชิเมมของคุณถึงญี่ปุ่นกันเถอะค่ะ!